วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พฤกษากับวรรณคดีไทย

สร้างความรู้จากการใช้ภาษา (Language)

การเรียนรู้สาระทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge TOK) มุ่งหวังให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ โดยผ่านวิธีการรับความรู้
4 ประการ ได้แก่ การรับรู้ความรู้ด้วยความรู้สึก การสัมผัสรับรู้
(Sense Perception) ด้วยภาษา (Language) ด้วยอารมณ์ (Emotion) และด้วยการให้เหตุผล (Reason)

การรับความรู้ด้วยความรู้สึก (Sense Perception)

การรับรู้ความรู้ด้วยความรู้สึกจากการสัมผัสรับรู้ (Sense Perception) หมายถึงปฏิกิริยาทางกายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบๆตัวเรา ความรู้สึกภายนอกที่เกิดจากการสัมผัส ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เช่น ได้ยิน ชิมรสชาด การสัมผัส ได้กลิ่นและมองเห็น และเกิดความรู้สึกจากภายใน ได้แก่ หิว เจ็บปวด และสิ่งเร้าต่างๆ ปัจจุบันการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรับรู้โดยใช้ความรู้สึกจากการ

ชีววิทยา กับวรรณกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็คือ ถ้าไม่มีชีวิต(มนุษย์) ก็ไม่มีวรรณกรรม(ผลงานสร้างสรรค์จากปัญญามนุษย์)

         ตอบให้ชัดขึ้นก็คือ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญา การบริโภคอาหารเพื่อความเติบโตทางกายเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นคงไม่เพียงพอ มนุษย์ยังต้องการอาหารทางใจ มนุษย์จึงสร้างสรรค์ค์งานศิลปะหลากแขนง เพื่อสนองความต้องการทางด้านจิตใจของตนและผู้อื่น วรรณกรรมซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของศิลปะจึงมีส่วนช่วยเติมเต็มทางด้านจิตใจให้แก่ผู้อ่าน ได้มีโอกาสสัมผัสรสอารมณ์หลากหลายที่นักเขียนจำลองมาจากชีวิตจริง (แม้จะมีการตัดต่อแต่งเติมไปบ้าง)